01KTE1S1_16082024.indd
กรุงเทพธุรกิจ
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567
ทัศนะ
● หน้าทัศนะ : เป็นเวทีสาธารณะสำ �หรับการแสดงความคิดเห็น ผู้อ่านสามารถส่งบทความ รายงานพิเศษ รายงานการวิจัยมาได้ที่ ktopinion@nationgroup.com เบอร์ต่อ 3405 โทรสาร 0 2338 3947-8 หรือส่งจดหมายถึงบรรณาธิการเกี่ยวกับ เรื่องราวร้องทุกข์ ชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีที่มีข่าวหรือบทความพาดพิงถึง มาที่ kteditor@nationgroup.com
ktopinion@nationgroup.com
6
● ไสว บุญมา sawaib@hotmail.com ❚ บ้านเขาเมืองเรา กรุงเทพธุรกิจ
มอง ‘ทรัมป์’ เห็นไทย
นักเศรษฐศาสตร์จ� ำนวนมากแสดงความวิตกทันที เมื่ออดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดกับผู้สื่อข่าว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า “ในหลายๆ กรณี ผมมีสัญชาตญาณ เหนือกว่าคนที่จะมาเป็นกรรมการ หรือประธาน
คณะกรรมการของธนาคารกลาง” คำ� พูดและความวิตกนั้นอาจมองได้จาก หลากมุม เช่น จากมุมกว้างแสดงให้เห็นว่าจุดยืนของนายทรัมป์ตั้งแต่ครั้ง ดำ� รงตำ� แหน่งประธานาธิบดีสมัยแรกยังคงเดิม กล่าวคือ ประธานาธิบดีควรมี อ�ำนาจในด้านการด�ำเนินนโยบายการเงินมากกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ ในปัจจุบันประธานาธิบดีมีหน้าที่แต่งตั้งประธานและกรรมการของ ธนาคารกลาง แต่ไม่อาจเข้าไปก้าวก่ายการดำ� เนินนโยบายรายวัน รวมทั้ง การก� ำหนดอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการ กฎหมายนั้นสะท้อน แนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการเศรษฐกิจระบบตลาดเสรีใน ปัจจุบัน นั่นคือ ธนาคารกลางต้องมีอิสระในด้านการดำ� เนินนโยบาย การเงินจากฝ่ายการเมือง ซึ่งมักยึดผลประโยชน์ทางการเมืองในระยะสั้น เหนือความมั่นคงของเศรษฐกิจในระยะยาว มองจากมุมแคบกว่านั้นอันเป็นเรื่องพฤติกรรมของนายทรัมป์เอง ค� ำพูดของเขาสะท้อนการยกตัวเองเหนือผู้อื่นซึ่งเขาท� ำอย่างต่อเนื่อง มานาน รวมทั้งการมีสัญชาตญาณในด้านเศรษฐกิจเหนือความรู้ของ ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ พฤติกรรมของนายทรัมป์ในช่วงที่เขาเป็นประธานาธิบดี มีผลพวงมากมายจากในสังคมอเมริกันไปถึงสังคมโลก เนื่องจากสหรัฐ เป็นมหาอ� ำนาจทั้งทางทหารและทางเศรษฐกิจ ในขณะนี้ มีคดีอาญา หลายคดีที่นายทรัมป์เป็นจ�ำเลยอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ภาวการณ์นี้มีผู้ชี้ว่าเกิดจากนายทรัมป์ล้มละลายทางศีลธรรมจรรยา มานาน หากเขาได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีอีกสมัย เขาจะท�ำให้เกิด ความวุ่นวาย ไม่เฉพาะในด้านเศรษฐกิจในสหรัฐเท่านั้นหากเป็นหลายด้าน ทั่วโลก อนึ่ง การบริหารจัดการเศรษฐกิจของชาวโลกส่วนใหญ่ในปัจจุบัน วางอยู่บนฐานของระบบตลาดเสรีที่ “อดัม สมิธ” วางไว้ในต� ำราพิมพ์ ออกมาเมื่อปี 2319 ชื่อ The Wealth of Nations ตำ� ราเล่มนี้มีสมมติฐาน อันส�ำคัญยิ่งที่ผู้แต่งมิได้แจงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรท�ำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ตระหนัก นั่นคือ ระบบตลาดเสรีจะทำ� งานได้ดีตามที่เขาเสนอก็ต่อเมื่อ ผู้น�ำมาใช้มีคุณธรรม คุณธรรมในที่นี้เราอาจมองว่ามี 2 ด้าน นั่นคือ ความรู้อันเป็น ส่วนประกอบส�ำคัญของปัญญาและสัมมาเจตนา ในกรณีของนายทรัมป์ ความวิตกของนักเศรษฐศาสตร์ดังกล่าวและของชาวโลก มาจากการ อวดดีว่าตนมีความรู้และปัญญาเหนือกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดเสรี พร้อมกันนั้นอาจมองได้ว่า เขาไร้สัมมาเจตนาเนื่องจากเป็นผู้ล้มละลาย ทางศีลธรรมจรรยาแล้ว หากเรานำ� กรณีของนายทรัมป์มามองเมืองไทย เราอาจเห็นอะไร หลายอย่าง เมืองไทยโชคดีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีประวัติยาวนาน ในด้านการมีอิสระจากการก้าวก่ายของฝ่ายการเมือง แม้จะมีความ พยายามเป็นครั้งคราวจากฝ่ายการเมืองที่จะท� ำตามแนวคิดของ นายทรัมป์ก็ตาม นอกจากนั้น คณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานเองยังแสดงให้ เห็นถึงการมีความรู้และสัมมาเจตนามาเป็นเวลานานอีกด้วย อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับเรื่องนี้อาจมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง หากมองจากมุมของวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยดังมีรายละเอียดอยู่ในหนังสือชื่อ “บันทึกประวัติศาสตร์ รายงาน ศปร. มูลเหตุเศรษฐกิจไทยเกือบ ล้มละลาย” ข้อยกเว้นเกิดจากความสงสัยในบทบาทของธนาคารทางด้านการ น�ำเข้าทุนต่างชาติจ�ำนวนมหาศาล เพื่อใช้ในการเก็งก�ำไรและการน�ำเงิน ส�ำรองของชาติเพียง 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ไปต่อกรกับนักโจมตีค่าเงิน ระดับโลกจนเงินส�ำรองสูญไปเกือบทั้งหมด เช่นเดียวกับเรื่องจุดยืนของนายทรัมป์ ในช่วงนี้มีการกล่าวถึงฝ่าย การเมืองของไทยต้องการเข้าไปก้าวก่ายในการท� ำงานของธนาคารแห่ง ประเทศไทยอีกครั้ง สืบเนื่องมาจากการคัดค้านของธนาคารเรื่องการ แจกเงินดิจิทัลให้แก่คนไทยหลายสิบล้านคน คนละ 1 หมื่นบาท โดยมี เหตุผลหลายด้านที่คัดค้านการแจกเงินดังกล่าว ประชานิยมแบบเลวร้ายเป็นด้านที่มีความส� ำคัญไม่ต�่ ำกว่าด้านอื่น หากมองจากมุมของเรื่องราวในอาร์เจนตินาซึ่งทำ� ให้ประชาชนเสพติดการ แจกของภาครัฐ การแจกต้องใช้งบประมาณ เมื่อรัฐบาลปิดงบประมาณ ด้วยการใช้เงินส� ำรองของชาติและการพิมพ์ธนบัตรแบบเสรีประเทศก็ ล้มละลาย หากรัฐบาลไทยยังแจกต่อไป ในวันหนึ่งข้างหน้าจะต้อง ใช้วิธีเดียวกัน วันล้มละลายรออยู่
กฎหมายควบคุมเนื้อหา บนโซเชียลมีเดียส�ำ หรับเด็ก
ปัจจุบันโซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่ที่ทำ� ให้ ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ได้ง่ายกว่ายุคสมัยก่อน ทำ� ให้ หน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงใช้โซเชียลมีเดียเป็น ช่องทางหลักในการสื่อสาร เผยแพร่ความรู้ หรือเสนอขายสินค้าและบริการต่อประชาชน ได้โดยตรง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียเข้ามามี บทบาทสำ� คัญและมีอิทธิพลในชีวิตประจำ� วัน ของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม เด็กและเยาวชนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละ วันไปกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งการ ใช้ที่มากจนเกินไปจะก่อให้เกิดภาวะเสพติด (Social Addiction) และท� ำให้มีปัญหา สุขภาพจิตได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองในหลายประเทศ เช่น สหรัฐมีความกังวลว่าบุตรหลานอาจ เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเสพติด โซเชียลมีเดีย ในรัฐนิวยอร์กจึงได้ออก ร่างกฎหมาย 2 ฉบับ เพื่อปกป้องเด็กที่ มีอายุต�่ ำกว่า 18 ปีจากอันตรายในโลก ออนไลน์ โดยร่างกฎหมายแต่ละฉบับมี วัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ร่างกฎหมาย New York Child Data Protection Act มีวัตถุประสงค์ เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของเด็กและ เยาวชนด้วยการจ�ำกัดบริการดิจิทัลในการ เก็บรวบรวมหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้ใช้บริการที่มีอายุตำ�่ กว่า 18 ปี โดยไม่ได้รับ ความยินยอม และมีมาตรการห้ามขายหรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ที่มีอายุต�่ ำกว่า 18 ปี 2.ร่างกฎหมาย Stop Addictive Feeds Exploitation (SAFE) for Kids Act มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสุขภาพจิต ของเด็กและเยาวชนจากการเผยแพร่ข้อมูล เนื้อหาที่น่าติดตามซึ่งมีอยู่บนแพลตฟอร์ม โซเชียลมีเดีย และจากการถูกรบกวนการ นอนหลับในเวลากลางคืนเนื่องจากใช้ โซเชียลมีเดีย ภายใต้ร่างกฎหมาย SAFE for Kids Act นั้น ฟีด (Feed) ที่จะปรากฏบน แอปพลิเคชันอย่างเช่น TikTok และ Instagram จะถูกจำ� กัดสำ� หรับผู้ใช้ที่มีอายุ
สถานที่ผลิตในโรงพยาบาลจะต้องได้รับการ รับรอง GMP และผ่านการประเมินหลักฐาน ด้าน ผลิตภัณฑ์และอื่นๆ ก่อนถึงจะสามารถ ใช้ได้จริง ดังนั้น หากประเทศไทยยกเว้นให้ใช้ ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่ 2 อยู่ อาจจะทำ� ให้ โอกาสในการวิจัยและพัฒนา ATMPs ที่ได้ มาตรฐานลดลง เนื่องจากไม่คุ้มค่ากับการ ลงทุน และประเทศไม่สามารถสร้างความ สามารถในการแข่งขันได้อย่างแท้จริง จากข้อมูลการศึกษาได้มีข้อเสนอแนะต่อการ พัฒนา ATMPs ดังนี้ 1. การมีนโยบายสนับสนุน ATMPs สมัยใหม่ที่ได้มาตรฐานด้านคุณภาพ และความปลอดภัยที่เป็นแนวทางการพัฒนา อย่างยั่งยืน นำ� ไปสู่การพัฒนากฎระเบียบที่ชัดเจน และไม่ขัดแย้งกัน 2. การมีแนวทางด้าน Reimbursement สำ� หรับสนับสนุนการใช้ ATMPs และ 3.การบรรจุผลิตภัณฑ์การแพทย์ ขั้นสูงเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อการขับเคลื่อนแบบ Top-down อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ก็ตาม แต่ ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้จะมี ผลบังคับใช้ในวันที่ 20 มิ.ย.2568 และรัฐ นิวยอร์กเป็นรัฐแรกในสหรัฐที่มีการผลักดัน ในการออกกฎหมายควบคุมแพลตฟอร์ม เทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อปกป้องเยาวชนจากปัญหาสุขภาพจิต ที่เป็นผลกระทบในเชิงลบของโซเชียลมีเดีย อีกทั้งเป็นการปูทางให้รัฐอื่นๆ ด� ำเนินการ ออกกฎหมายที่ตระหนักถึงความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวออนไลน์ของเยาวชน อีกด้วย ที่อ้างว่ามาตรการที่ให้ยืนยันอายุของ ผู้ใช้ทางออนไลน์ก่อให้เกิดความกังวล ในเรื่องความปลอดภัยส�ำหรับผู้ใช้ที่เป็น เยาวชน เนื่องจากการดำ� เนินการตามมาตรการ ยืนยันอายุจ� ำเป็นที่จะต้องรวบรวมข้อมูล ส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อนจากผู้ใช้และ ผู้ปกครอง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มปริมาณข้อมูล ส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อน ที่ผู้ใช้จะต้อง เปิดเผยต่อบริษัทโซเชียลมีเดีย จึงมีผลกระทบ ต่อบุคคลที่ไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลตามที่ ร้องขอ และเมื่อมีบุคคลที่ไม่ทำ� การยืนยัน อายุ บุคคลนั้นก็จะถูกบังคับไม่ให้เข้าถึง โซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิ เสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตและขัด ต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ กลุ่ม CCIA ยังให้เหตุผลว่าอัลกอรึทึม ที่ร่างกฎหมาย SAFE for Kids Act ต้องการ จำ� กัดนั้น เป็นอัลกอริทึมเดียวกันกับที่ปกป้อง เยาวชนจากเนื้อหาที่เป็นอันตราย ซึ่งการจำ� กัดอัลกอริทึมนี้อาจส่งผลให้มีการส่งเนื้อหา แบบสุ่มไปยังผู้ใช้ และอาจทำ� ให้ผู้ใช้ซึ่งเป็น เยาวชนที่มีอายุต�่ำกว่า 18 ปี สามารถเข้าถึง เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้ ถึงแม้จะมีกระแสต่อต้านอย่างมาก
● พงค์ศักดิ์ เจ๊ะพงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กานพลู งานสม นักวิชาการอิสระ ❚ กฎหมาย 4.0 กรุงเทพธุรกิจ
สกสว.นำ� เสนอรายงานข้อมูลสถานการณ์ ด้านผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงทั้งในและ ต่างประเทศ พบว่า มูลค่าตลาดทั่วโลกของ ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงนั้น คาดการณ์ว่า ในปี 2575 จะมีอัตราการเติบโตถึง 18.3% (CAGR) หรือ 82.24 พันล้านดอลลาร์ และ หากพิจารณาจากเส้นทางการพัฒนา ATMPs ตั้งแต่การวิจัยพื้นฐานจนถึงการขึ้นทะเบียน ผลิตภัณฑ์ให้ได้ออกมาสู่ตลาด จะต้อง ลงทุนประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ หรือ 48.03 พันล้านบาท และใช้เวลา พัฒนามากกว่า 10 ปี ขณะนี้ประเทศไทยเล็งเห็นความ สำ� คัญและสนับสนุนงบประมาณวิจัยและ พัฒนาผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ตั้งแต่ การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานให้มีมาตรฐาน ต�่ ำกว่า 18 ปี เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้มี ข้อกำ� หนดให้บริษัทโซเชียลมีเดียต่างๆ ห้าม แสดงโพสต์แนะนำ� ที่มีเนื้อหาตามที่กฎหมาย ระบุไว้ว่าอาจสร้างความเสพติดให้แก่ผู้ใช้ที่ มีอายุต�่ำกว่า 18 ปี และหากไม่ได้รับความ ยินยอมจากผู้ปกครอง แพลตฟอร์มต่างๆ ก็จะถูกห้ามมิให้ส่งการแจ้งเตือนเกี่ยวกับ โพสต์แนะนำ� ไปยังผู้ใช้ที่มีอายุตำ�่ กว่า 18 ปี ในระหว่างเวลา 24.00 - 06.00 น. ทั้งนี้ ร่างกฎหมายยังให้อ� ำนาจแก่ ผู้ปกครองให้สามารถท�ำการปิดกั้นไม่ให้ บุตรหลานได้รับโพสต์หรือคอนเทนต์ แนะน� ำบนโซเชียลมีเดียตามอัลกอริทึม ของแพลตฟอร์มได้อีกด้วย โดยเด็กที่ มีอายุตำ�่ กว่า 18 ปี จะยังสามารถเข้าถึงโพสต์ ต่างๆ ได้จากบัญชี (Account) ที่ตนเอง ติดตามเท่านั้น และเข้าถึงโพสต์แนะน� ำได้ หากเป็นโพสต์ที่ร่างกฎหมายก� ำหนดไว้ว่า เป็นการให้ความยินยอมของผู้ปกครองที่ สามารถตรวจสอบได้ ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้อนุญาตให้ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแสดงโพสต์ที่มี เนื้อหายอดนิยมทั่วไปให้กับผู้ใช้ได้ และ ผู้ใช้ยังคงสามารถค้นหาเนื้อหาอื่นๆ นอก เหนือจากเนื้อหาที่แสดงในฟีดส�ำหรับ โทษของผู้ที่ฝ่าฝืน ร่างกฎหมาย SAFE for Kids Act ได้ให้อำ� นาจ แก่สำ� นักงานอัยการของรัฐมีอำ� นาจ เอาผิดกับบริษัทสื่อโซเชียลมีเดีย ที่ฝ่าฝืน
ข้อกฎหมายด้วยโทษปรับสูงสุดถึง 5,000 ดอลลาร์ต่อการกระท�ำความท�ำผิด 1 ครั้ง เนื่องจากร่างกฎหมายฉบับนี้ยังไม่มี ผลบังคับใช้ทันที เพราะในปัจจุบันอัยการ สูงสุดของรัฐนิวยอร์กได้รับมอบหมายให้ มีหน้าที่ก� ำหนดกฎเกณฑ์กลไกการตรวจ สอบอายุของผู้ใช้และความยินยอมของ ผู้ปกครอง และเมื่อใดที่กฎเกณฑ์นี้เสร็จ สมบูรณ์แล้ว บริษัทโซเชียลมีเดียทั้งหลาย จะมีเวลา 180 วันด�ำเนินการเปลี่ยนแปลง ระบบของตนเพื่อให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายเกี่ยวกับ โซเชียลมีเดียฉบับนี้ได้รับการต่อต้านอย่างมาก จากกลุ่ม Computer & Communications Industry Association (CCIA) ซึ่งรวมถึง บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตอย่าง Apple, Google, Amazon และ Meta
ทิศทางการพัฒนา ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง
เวทีเสวนา “การยกระดับความสามารถ ในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ของประเทศ” ครั้งที่ 9 : ทิศทางการพัฒนา ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงและการแพทย์ แม่นยำ� ในประเทศ สำ� หรับการวางแผนและ ออกแบบการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัย และนวัตกรรมของประเทศ ภายใต้ กองทุน ววน. ในการขับเคลื่อนประเด็น ผลิตภัณฑ์ การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) ซึ่งจะช่วย ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ สกสว. ประสานความร่วมมือกับ 3 หน่วยงาน คือ ส� ำนักงานสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำ� นักงาน เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และ สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับความ สามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ส�ำคัญของประเทศ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)
❚ บทความพิเศษ กรุงเทพธุรกิจ ● ส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
GMP และการพัฒนาผลิตภัณฑ์การแพทย์ ขั้นสูง (ATMPs) เช่น CAR T-cell, Mesenchymal stem cell เป็นต้น ปัจจุบันการใช้ ATMPs แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.การผลิตใช้แบบผลิตภัณฑ์เชิง พาณิชย์ จากสถานที่ที่ได้มาตรฐานการรับรอง GMP ซึ่งมีกระบวนการตั้งแต่วิจัย พัฒนา และผลิต จนถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ กับทางสำ� นักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) 2.การผลิตใช้แบบผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ จากสถานที่ที่ยังไม่ได้มาตรฐานการรับรอง GMP ซึ่งใช้ช่องว่าง มาตรา 13(2) ของ พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ในการผลิต ให้กับผู้ป่วย และ 3.การผลิตใช้ในโรงพยาบาลแบบ Hospital exemption ซึ่งในต่างประเทศ
ในความร่วมมือนี้เน้นอุตสาหกรรม การแพทย์และสุขภาพ โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเป็นเวที ที่เปิดรับฟังความเห็นประเด็นวิจัย สำ� คัญ และข้อเสนอในการยกระดับความ สามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมฯ เพื่อนำ� ข้อมูลไปทบทวนและจัดทำ� แผนด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของ ประเทศ และออกแบบการท� ำงานร่วมกับ เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
Made with FlippingBook flipbook maker