01KTE1S1_16082024.indd
กรุงเทพธุรกิจ
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567
บทน�ำ -บทวิเคราะห์ ktplt@nationgroup.com 2 การเมืองไทยเดินหน้าต่อ 14 ส.ค.ก็แค่อุบัติเหตุ ❚ บทบรรณาธิการ กรุงเทพธุรกิจ
‘วัฒนธรรมองค์กร’ ตัวเร่งพนักงานลาออก
❚ Big Data Analysis กรุงเทพธุรกิจ
จากผลสำ� รวจล่าสุดโดย โรเบิร์ต วอลเทอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดหางานระดับโลก พบว่า กว่า 70% ของพนักงานในประเทศไทย ก� ำลังวางแผนเปลี่ยนงาน ขณะที่ 62% ของพนักงานเหล่านี้เชื่อมั่นว่า การเตรียมตัว เพื่อยกระดับความสามารถของตัวเองจะ ช่วยให้ได้งานใหม่เร็วขึ้น ที่น่าสนใจจากผลสำ� รวจนี้ คือ “แรงจูงใจ” ที่ท� ำให้พนักงานเริ่มหางานใหม่ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ตอบโจทย์ (55%), ความพึงพอใจในการทำ� งานตำ�่ (20%) และ ความไม่มั่นคงในงาน (16%) โดยพนักงานที่เริ่มเตรียมตัว ยกระดับความสามารถของตัวเอง ได้แก่ การพัฒนาทักษะ/การฝึกอบรม (33%), การทำ� อาชีพเสริมควบคู่กับงานประจำ� (17%) และการขอค� ำปรึกษาจากโค้ชด้านอาชีพ (6%) วรัปสร พงษ์ศิริบัญญัติ จากโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประเทศไทย ได้ให้ข้อแนะนำ� ว่า เพื่อลดโอกาสที่พนักงานเก่งๆ จะลาออกไป บริษัทจ� ำเป็นต้องสื่อสารแนวทางที่ชัดเจน แก่พนักงาน ประเมินผลการท� ำงานอย่าง สม�่ ำเสมอ รวมถึงการให้ฟีดแบคเชิง สร้างสรรค์ และลงทุนในการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่องแก่พนักงาน
วันนี้ 16 ส.ค.วันสันติภาพไทยถือเป็นวันสำ� คัญในประวัติศาสตร์ ที่สมควรรำ� ลึกถึงผลงานของบุคคลในอดีตอันมีส่วนเกี่ยวข้อง กับสถานการณ์การเมืองโลก เดือน ส.ค.เมื่อ 79 ปีก่อนถือเป็น ห้วงเวลาส� ำคัญของสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามที่ยืดเยื้อ มานานถึงจุดจบในเดือนนี้ เมื่อสหรัฐใช้ระเบิดปรมาณูถล่ม เมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2488 ตามด้วยเมืองนางาซากิ ในวันที่ 9 ส.ค. ส่งผลให้รัฐบาลสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นยอม แพ้สงครามในวันที่ 15 ส.ค. ส่วนในประเทศไทยซึ่งอยู่ในสมัยรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ วันรุ่งขึ้น 16 ส.ค. นายปรีดี พนมยงค์ ผู้ส�ำเร็จราชการ ในพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 และผู้น�ำขบวนการเสรีไทย ประกาศให้การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ถือเป็นโมฆะ ไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย เนื่องจากเป็น การกระทำ� อันผิดเจตจำ� นงของประชาชนชาวไทย ขัดต่อบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นอีกหนึ่งหมุดหมาย ของประวัติศาสตร์ยุคใหม่ สหรัฐอเมริกาผู้เอาระเบิดปรมาณูไป ถล่มญี่ปุ่นกลายเป็นมหาอำ� นาจใหม่ (แต่ตอนนี้สหรัฐกับญี่ปุ่นเป็น เพื่อนซี้ปึ้กไปไหนไปกัน) เจ้าอาณานิคมยุโรปเดิม อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส ต่างเสียหายหนักระหว่างสงคราม จ� ำเป็นต้องฟื้นฟู บูรณะประเทศ จึงทยอยให้เอกราชกับประเทศอาณานิคมกัน เป็นแถว พูดถึงเรื่องนี้ประเทศไทยเราภูมิใจเป็นนักเป็นหนาว่า ไม่เคยตกเมืองขึ้นใคร ถึงวันนี้มาดูกันหน่อยว่า ในโลกยุคใหม่ เส้นทางของเรากับเพื่อนบ้านแตกต่างกันแค่ไหน หลังจากเมื่อ วันที่ 14 ส.ค. ศาลรัฐธรรมนูญเพิ่งฟันนายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจาก ต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาหยกๆ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแถบอาเซียนประจำ� ปี 2567 ต้องยกให้สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. สิงคโปร์ได้ลอว์เรนซ์ หว่อง ผู้น� ำรุ่นที่ 4 หรือผู้น� ำ 4G เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ สืบต่อจากลี เซียนหลุง บุตรชายคนโตของลี กวนยู บิดาผู้ก่อตั้ง ประเทศ ในด้านเศรษฐกิจล่าสุดสิงคโปร์ปรับเพิ่มคาดการณ์ เศรษฐกิจปีนี้ ขยายตัว 2-3% จากคาดการณ์เดิมที่ 1-3% ขณะที่ไทยนั้นหลังเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองกับนายกฯ เศรษฐา กูรูหลายส� ำนักมองว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองไทย เพิ่มมากขึ้น เป็นความเสี่ยงด้านลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ และการด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจล่าช้า เนื่องในวันสันติภาพไทยและเป็นวันดีเดย์อีกวันหนึ่ง ของการเมืองไทย ที่ไม่ใช่แค่วันหวยออก 16 ส.ค.2567 สภาจะ ลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่มาแทนนายกฯ เศรษฐา แคนดิเดตแต่ละพรรคเป็นใครบ้างคงทราบชื่อกันแล้ว จะรัก จะชอบ จะชัง จะชื่นชม ขอแค่ให้ระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ของไทยเดินหน้าไปได้ตามกลไก ความแน่นอน คาดการณ์ได้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ เกือบๆ หนึ่งปีที่นายกฯ เศรษฐาน� ำ ประเทศไทยกลับสู่เรดาร์โลกอย่าให้เสียเปล่า ช่วยกันเดินหน้า ต่อไป ถือเสียว่า 14 ส.ค.เป็นแค่อุบัติเหตุ
ระเบียบการเมือง-เศรษฐกิจโลก วันที่ขวา (เริ่ม) พิฆาตซ้าย
กรุงเทพธุรกิจ ● สาธิต สูติปัญญา
เผชิญหน้า ขัดแย้งกันในเวทีเศรษฐกิจโลก สำ� หรับไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งญี่ปุ่น เกาหลี เขาก็หนาวกันหมด เพราะ กระแส MAGA (Make America Great Again)มันแรงมาก ถึงแม้ทรัมป์จะไม่ชนะ การเลือกตั้ง แต่การที่สหรัฐมีนโยบายเข้ามา เกื้อหนุน ชี้น� ำอุตสาหกรรม น� ำพาเอกชนใน การพัฒนาเศรษฐกิจ ที่รัฐเข้ามาแทรกแซง กระแสนี้ก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม เพราะมีความตกผลึกในสังคมสหรัฐ แล้วว่าต้องดูแลตัวเอง เปิดเสรีเท่าที่ตัวเอง ได้ประโยชน์ ในขณะที่สมัยก่อนสหรัฐค�้ำจุน ระเบียบเศรษฐกิจการเมืองโลกเอาไว้ เมื่อ ย�่ำแย่ เจ็บแค้น ขาดทุน อเมริกาก็รู้สึกว่าต้อง เอาคืน ซึ่งก็ทำ� ให้เศรษฐกิจโลกป่วน ในขณะที่ จีนผงาดมาเทียบเคียง แล้วประเทศจีนก็ เอารัดเอาเปรียบหลายประเทศจริง เช่นการ คัดลอกเทคโนโลยีและน�ำไปต่อยอด ท้ายที่สุดวงจรที่คุยกันมันก็จะท�ำให้ยุค อ� ำนาจนิยมเข้าสู่ยุคขาขึ้น และระเบียบโลก แบบนี้ก็จะท� ำให้แต่ละประเทศไม่ชื่นมื่น เหมือนแต่ก่อน มีลักษณะตัวใครตัวมันมากขึ้น ต่อไปอาจท� ำให้เกิดความขัดแย้งและลงไม้ ลงมือกันตรงๆ ตอนนี้อาเซียนและไทยขัดแย้งหลาย เรื่องทั้งจีน-สหรัฐ ทะเลจีนไต้ เมียนมา รัสเซีย-ยูเครน และกลุ่มฮามาส-อิสราเอล โดยอาเซียนแตกเสียงแทบทุกเรื่องใหญ่ใน เศรษฐกิจและการเมืองโลก ดังนั้นไทยควรเหยียบเรือหลายแคม โดย ไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐต้องรักษาไว้ และ มีความใกล้ชิดกับประเทศจีนก็ต้องรักษาไว้ และไม่ใช่รักษาอย่างเดียวต้องใช้เป็นเครื่องไม้ เครื่องมือ มาเป็นอ�ำนาจต่อรองด้วย แต่สำ� หรับไทยเป็นห่วงการเมืองต่างประเทศ น้อยกว่าการเมืองภายในประเทศ เพราะถ้า ภายในประเทศมีเอกภาพ ตกผลึกพอ เศรษฐกิจ การต่างประเทศจะพุ่งและเดินหน้าได้เลย แต่ปัญหาที่ผ่านมาเกิดจากการเมืองภายใน ประเทศ ส่วนอาเซียนนั้นแตกแยกแต่ไม่ล่มสลาย ไม่หายไปไหน ยังอยู่ แต่ความเป็นแกนกลาง ในภูมิภาค (ASEAN Centrality) จะลดลง มีบทบาทน้อยลงเพราะโดนด้อยค่าเรื่อง “ความ ไร้น�้ ำยา” ดังนั้นไทยต้องตระหนักให้ดีว่า ขาหนึ่งต้องพึ่งอาเซียน แต่ระดับการพึ่งพา อาจน้อยลง ดังนั้นต้องพึ่งที่อื่นแล้วพยายาม พึ่งตัวเองให้มากสุด
หากนับว่าช่วงที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย ในปี 2534 เป็นจุดสิ้นสุดสงครามเย็นและเข้าสู่ โลกแห่งโลกาภิวัตน์ภายใต้ระบบการเมืองโลก ที่โน้มเอียงไปทางซ้าย-เสรีนิยม และการที่ “มหาอ� ำนาจยักษ์ใหญ่” ของโลกได้โดนัลด์ ทรัมป์เข้ามาเป็นประธานาธิบดี 2560 คือช่วง ที่ระบบการเมืองโลกเบนเบี่ยงไปในทิศทาง “กึ่งอนุรักษนิยม” มากขึ้น “สัญญาณ” จ� ำนวนมากเริ่มแสดงไป ในทิศทางเดียวกันแล้วว่า ในปี 2567 และ 2568 อาจเป็นจุดเปลี่ยนผ่านส� ำคัญภูมิทัศน์ การเมืองโลกจะขยับเข้าใกล้ความเป็น ฝ่ายขวา-อนุรักษนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศอิตาลีที่ได้ จอร์เจีย เมโลนี ผู้นำ� พรรคพี่น้องอิตาลี พรรคการเมือง อนุรักษนิยมสุดโต่ง หลังเลือกตั้งกลางปี 2565 รวมถึงเนเธอร์แลนด์ที่ได้ เคียร์ต วิลเดอร์ส จากพรรคขวาจัดจาก Freedom Party เป็น แกนน�ำตั้งรัฐบาลช่วงกลางปี 2566 ส่วนฝรั่งเศสที่ถึงแม้ว่าสุดท้ายจะได้ กลุ่มพันธมิตรฝ่ายซ้ายที่น� ำโดยพรรค New Popular Front (NPF) ซึ่งได้ที่นั่งมากสุด ในรัฐสภา ทว่ากระแสการบูมของพรรคขวา จัดอย่าง National Rally (RN) แรงถึงขนาด ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ยุบสภา ท้ายที่สุดการเลือกตั้งสหรัฐในเดือน พ.ย.นี้ นักวิชาการและนักวิเคราะห์การเมือง ส่วนหนึ่งประเมินว่ามีโอกาสสูงมากที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ามาเป็นประธานาธิบดีสมัยต่อไป ซึ่งเป็นสัญญาณส� ำคัญที่แสดงว่าภูมิทัศน์ การเมืองโลกเริ่ม “หันขวา” มากขึ้น “กรุงเทพธุรกิจ” สัมภาษณ์ ศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำ� สถาบันศึกษา ความมั่นคงและนานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงบริบทการเมือง โลกที่กลุ่มการเมืองที่มีทัศนคติแบบขวาเริ่มมี บทบาทมากขึ้น ศ.ดร.ฐิตินันท์ เล่าถึงนิยามขวาและซ้าย คือการ “ปิด” กับ “เปิด” ภาพรวมของการ เป็นซ้ายคือเปิด มีความเป็นเสรีนิยมแฝงอยู่ มีพฤติกรรมพฤตินัยและนิตินัยที่อิง การเป็นสังคมที่เปิดทั้งระดับประเทศและ ต่างประเทศ สังคมที่เปิดในระดับประเทศคือ “เสรีประชาธิปไตย” ถ้ามีสิทธิเสรีภาพสูง สังคมยิ่งเปิด ยิ่งเสรี ยิ่งซ้าย
ส่วนขวาคือค่านิยม มุมมองโลกที่ปิด ซึ่งไม่ได้หมายความว่าปิดประตูตาย แต่ไม่ได้ เอียงหรือฝักใฝ่ทางที่เปิด เพราะผู้เชื่ออุดมการณ์ แบบนี้จะกังวลความสงบเรียบร้อยความ ปลอดภัยและความมั่นคง ทั้งนี้ การพัฒนาทางการเมืองมีขึ้นและ ลงในวงจรนี้ ซึ่งต่างจากการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาสาธารณสุข การพัฒนาเหล่านี้มักต่อยอดให้ดีขึ้น แต่ถ้าเป็น พัฒนาการทางการเมืองจะเหมือนมีขึ้นมีลง บาง ยุคสมัยเปิดกว้างเป็นประชาธิปไตย สักพักหนึ่ง ก็ปิดลง เป็นเผด็จการ ไม่ได้เป็นการต่อยอดขึ้น ไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นแบบนี้มาเป็นพันปีแล้ว สำ� หรับบริบทเวทีต่างประเทศ ตั้งแต่หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเกือบ 80 ปีมาแล้ว ระเบียบการเมืองและสังคมโลกมีทิศทางแนว “เปิด” โดยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายฝ่าย ตกผลึกว่า สาเหตุที่มีสงครามโลกเพราะผล ต่อเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และสาเหตุ สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นเพราะการกีดกัน การค้า การบริหารประเทศตามอ� ำเภอใจ ไม่เน้นความร่วมมือ ในเยอรมนีเป็นปัจจัยให้เกิด “ขบวนการ ของฮิตเลอร์” คือ พรรค National Socialism ของฮิตเลอร์ สุดท้ายนำ� ไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สู้รบเต็มกำ� ลังและทำ� ให้มีผู้เสียชีวิตจำ� นวนมาก เกิดภาวะยากลำ� บากทั่วโลก เพราะฉะนั้นเป็น โจทย์สำ� หรับผู้ชนะ และหลังจากนั้นตกผลึกว่า ต้องสร้างระเบียบโลกที่อิงกระแสเปิดเพื่อ ท�ำให้ร่วมมือกัน
ทั้งนี้ เป็นที่มาของสหภาพยุโรป (EU), ธนาคารโลก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), องค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO), องค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งเป็นการสร้าง กติการะหว่างประเทศเพื่อเอื้อการเปิดต่อกัน ผลของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกคือ ประเทศที่เคยเป็นประเทศโลกที่สาม ประเทศ ด้อยพัฒนา ซึ่งรวมถึงไทย เกาหลีใต้ ใต้หวัง ฮ่องกง สิงคโปร์ แม้กระทั่งญี่ปุ่นที่เป็นภาคีฝ่าย แพ้สงครามได้พัฒนาในระบบนี้ด้วย เพราะ เอื้อต่อการเปิด การค้า การลงทุน การส่งออก การผลิต การบริโภค และยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อน กระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งหมดจึงท� ำให้เกิด “ยุคชื่นมื่น” ของทั้งโลก นอกจากนี้กลุ่มคนบางกลุ่มในสหรัฐ ไม่เห็นด้วยกับระเบียบโลกแบบเปิดเสรี เพราะทำ� ให้สหรัฐยำ�่ แย่ พวกเขามองว่ารัฐบาล จะท� ำแบบนี้ไม่ได้ ต้องมาดูแลตัวเองก่อน ต้องเรียกร้อง ฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯ ขึ้นมา อเมริกาต้องไม่เป็นเบี้ยล่างประเทศอื่น อีกต่อไป แต่สายนี้ มีมานานแล้ว แต่มันเป็น กลุ่มเล็กๆ ทว่าเวลาผ่านไปหลายสิบปีกว่า กระแสลักษณะนี้กลายเป็นกระแสหลักที่อยู่ใต้ ปีกของทรัมป์ แล้วก็ทำ� ให้เขาชนะการเลือกตั้ง เป็นประธานาธิบดีไปแล้ววาระหนึ่งและก็อาจ จะชนะอีกรอบหนึ่ง ส่วนตัวคิดว่าตัวขับเคลื่อนสงครามเชิง ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) จริงๆ คือ ภูมิเศรษฐศาสตร์ (Geoeconomics) หรือ การแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น ต่อกร ปีนเกลียว
คณะบรรณาธิการ : Business สาวิตรี รินวงษ์ ktmkt@nationgroup.com Economic Wealth ดาริน โชสูงเนิน , นครินทร์ ศรีเลิศ , นันทิยา วรเพชรายุทธ kteco@nationgroup.com Tech Ai วริยา คำ� ชนะ ktit@nationgroup.com Geopolitics กนกวรรณ เกิดผลานันท์ ktfor@nationgroup.com Sustainability ทินกร เชาวน์ชื่น (รักษาการ) kteco@nationgroup.com Health & Wellness พวงชมพู ประเสริฐ qualitylife4444@gmail.com Lifestyle ปานใจ ปิ่นจินดา judprakai@gmail.com คณะกองบรรณาธิการอาวุโส : นิภาวรรณ แก้วรากมุกข์ niphawan@nationgroup.com หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ hathairat_d@nationgroup.com สรัญญา จันทร์สว่าง sarunya_d@nationgroup.com ลักษ์โตเย่น วุฒิศักดิ์ laktogen@nationgroup.com ปราณี หมื่นแผงวารี pranee_mue@nationgroup.com บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา : นิภาวรรณ แก้วรากมุกข์ ktplt@nationgroup.com ฝ่ายขายโฆษณา : อัลเลียซ สะอิ E-Mail : allias_sae@nationgroup.com ต่อ 3561
ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ : สุทธิพันธ์ ภู่ระหงษ์ sutthipun_poo@nationgroup.com บรรณาธิการข่าว : ทินกร เชาวน์ชื่น tinnakorn_cha@nationgroup.com ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร : เอกรัตน์ สาธุธรรม ekarat_sat@nationgroup.com ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร : ปานใจ ปิ่นจินดา panjai_pin@nationgroup.com
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ : ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2530 เป็นสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พิมพ์ที่ บริษัท ตะวันออกการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ จำ� กัด 167/5 ม.4 ถ.บางนา-ตราด ต.บางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ โทรศัพท์ 0 2338 3333 เจ้าของ : บริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำ� กัด (มหาชน) เลขที่ 1854 ชั้น 9, 10, 11 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 สมัครสมาชิก/ต่ออายุ โทร. 02-338-3000 / Mail : Customer@nationgroup.com / Line : @nmgconnect
บรรณาธิการอำ� นวยการเครือเนชั่น : วีระศักดิ์ พงศ์อักษร weerasak@nationgroup.com กรรมการผู้จัดการ : วีรยุทธ แสงกระจ่าง weerayut_san@nationgroup.com บรรณาธิการบริหาร : ศรัณย์ กิจวศิน sarun_kij@nationgroup.com
Made with FlippingBook flipbook maker